ทำความรู้จักกับไวน์


ไวน์ (อังกฤษ: wine) ปกติหมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากน้ำองุ่น
แต่ก็อาจใช้กับเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำผลไม้อื่น ๆ เช่นกัน
ไวน์ที่จะกล่าวถึงในที่นี้จะหมายถึงเฉพาะเครื่องดื่มจากน้ำองุ่นเท่านั้น

ไวน์ เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาลในองุ่น
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไวน์ขาว (White wine) และ ไวน์แดง (Red wine)
ไวน์ที่ได้จากการผสมระหว่างไวน์ 2 ชนิดเรียก ไวน์สีกุหลาบ (Rose wine) หรือ ไวน์สีชมพู (Pink wine)
ส่วนไวน์ที่มีการอัดก๊าซลงไป จะเรียกว่า สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine)
สปาร์กลิงไวน์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ แชมเปญ (Champagne)


ประวัติความเป็นมา
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายร้อยปีแล้ว
 มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล

นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว
ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน

ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่างๆ
ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน
หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์
 ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง
 ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม
รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
 โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้
ส่วนประกอบของไวน์
ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไวน์คือแอลกอฮอล์ที่ละลายในน้ำ
และส่วนผสมทางเคมีอื่นๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสารระเหยและสารไม่ระเหย
 ทั้งสารละลายและสารแขวนลอย ปกติแล้ว ปริมาณของแอลกอฮอล์จะอยู่ระหว่าง 9-15 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณน้ำ 85 เปอร์เซ็นต์

แอลกอฮอล์ในไวน์ส่วนใหญ่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์
และยังพบตัวทำละลายประเภทกลีเซอรอล ซอร์บิทอล และบูตีแลนกลีคอลด้วย

นอกจากนั้น ไวน์ยังประกอบด้วย

น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งกลูโคส ฟรุคโตส ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1-2 กรัมต่อลิตร ในดรายไวน์ที่หมักจนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์แล้ว จนถึง 50-60 กรัมต่อลิตร
ในไวน์หวานที่กระบวนการหมักบ่มยังไม่สมบูรณ์
กรดต่าง ๆ ทั้งกรดมัลลิก กรดซีตริก กรดทาตริก กรดอเซติก กรดแลคติก กรดซุคซินิก
ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แทนนิน แอนโธซีอัน
การแบ่งประเภทไวน์
ในหลายๆ ประเทศจะแบ่งประเภทไวน์ตามพันธุ์ขององุ่นที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ และในประเทศฝรั่งเศสมีการแบ่งประเภทไวน์ตามพื้นที่แหล่งผลิต ผู้ผลิต และปีที่ผลิตพันธุ์องุ่น
พันธุ์องุ่นที่นำมาใช้ทำไวน์นั้นมีหลากหลายมาก 
ในฝรั่งเศส พื้นที่ผลิตมักจะสัมพันธุ์กับพันธุ์องุ่น โดยในพื้นที่หนึ่งๆอาจจะปลูกองุ่นเพียงพันธุ์เดียว หรือหลายพันธุ์เป็นการเฉพาะ
ปีที่ผลิต คือ ปีที่มีการเก็บองุ่นซึ่งนำมาใช้ทำไวน์นั้นๆ เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะอากาศในปีต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพไวน์ โดยปกติผู้ผลิตจะเขียนชื่อปีที่ผลิตไว้บนฉลาก
 กฎหมายของสหภาพยุโรปไม่ได้กำหนดให้แจ้งปีที่เก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์แต่อย่างใด

Cr: http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=41757.0;wap2

ความคิดเห็น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

13 regions in France.

เทศกาลห้ามพลาดในฝรั่งเศส

MONT SAINT MICHEL